การฝังเข็ม

การฝังเข็ม เป็นการแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่ง เป็นศาสตร์การรักษาโรคชนิดหนึ่งของจีนโบราณ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากความเชื่อเรื่องของพลังชีวิต หรือพลังชีที่อยู่ในเส้นลมปราณ เพื่อสร้างสมดุลในร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการป่วยจากโรคต่างๆ

ลักษณะการฝังเข็ม คือ การนำเข็มที่มีขนาดบางมากฝังลงไปตามจุดฝังเข็มจุดต่างๆบนร่างกาย

ประโยชน์จากการฝังเข็ม การฝังเข็มเป็นการกระตุ้นการซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกายให้เข้าสู่สภาวะปกติ องค์การอนามัยโลกได้ทาการรับรองว่าการฝังเข็มสามารถรักษาอาการและโรคต่างๆกว่า 200 อาการ ขอยกตัวอย่างโรคที่พบบ่อยและเห็นได้ชัด ดังนี้

  • ลดอาการปวดต่างๆ จากการฝังเข็ม เช่นลดอาการปวดจากอุบัติเหตุและการผ่าตัดปวดข้อรูมาตอยด์ ปวดหลัง ข้อไหล่ ติดปวดข้อศอกปวดข้อ ปวดข้อเข่า เกาท์ และการปวดทางทันตกรรม
  • การฝังเข็ม ช่วยโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น กลุ่มไข้หวัดไซนัสอักเสบกระดูกแมกซิลลา ไซนัสอักเสบกระดูกหน้าผาก ปวดบริเ ณหัวคิ้วหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหอบหืด ช่วยลดการตีบของหลอดลม โรคภูมิแพ้
  • การฝังเข็ม ช่วยระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอาหารอักเสบและลำไส้อักเสบแผลในกระเพาะ แผลในลำไส้ส่วนบนท้องร่วงลำไส้เคลื่อนไหวผิดปกติ ท้องผูก ระบบทางเดินน้ำดี
  • กลุ่มโรคจิตเวช การฝังเข็มได้ผลเป็นอย่างดีในรายที่เป็นโรคเครียดโรควิตกกังวลการบำบัดโรคซึมเศร้าการบำบัดโรคนอนไม่หลับเนื่องจากโรคนอนไม่หลับสามารถเกิดได้หลายสาเหตุซึ่งพบว่าการฝังเข็มสามารถกระตุ้นให้การหลับง่ายขึ้นและคุณภาพของการนอนดีขึ้นรักษาการติดสารเสพติดร่วมกับการใช้สังคมหรือจิตบำบัดการติดสุราการติดสารนิโคตินในบุหรี่
  • โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีและการเจ็บแค้นหน้าอกโรคความดันโลหิตสูง/ต่ำกลุ่มอาการผิดปกติของการไหลเวียนเลือดส่วนปลาย เม็ดเลือดขาวต่ำ
  • การฝังเข็ม ลดอาการของสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนและลดอาการปวดประจำเดือน ซึ่งเป็นอาการปวดก่อนมีประจำเดือน ภาวะมีบุตรยาก อาการแพ้ท้องกระตุ้นการหลั่งน้ำนม ลดอาการผิดปกติที่เกิดจากภาวะวัยทอง
  • โรคผิวหนัง เช่น สิว สิวที่แผ่นหลังแผลเรื้อรัง ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ โรคเรื้อนกวาง
  • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ การฝังเข็ม สามารถกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ ทางเดินปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะทางานดีขึ้นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะขนาดเล็ก ต่อมลูกหมากอักเสบลดอาการปวดจากกระเพาะปัสสาวะบีบตัวผิดปกติรักษาอาการคั่งของปัสสาวะหลังผ่าตัดหรือปัสสาวะลำบาก
  • การฝังเข็ม ช่วยโรคระบบประสาท เช่นหลอดเลือดในสมองขาดเลือด เส้นประสาทส่วนปลายหรือปลายประสาทผิดปกติอัมพาตใบหน้าโรคหลอดเลือดอุดตัน รักษาอัมพฤกษ์ อัมพาต ลมชัก

ก่อนฝังเข็ม ควรรับประทานอาหารแต่พอดี ไม่อิ่มเกินหรือปล่อยให้ท้องว่าง เพราะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นลมได้ง่าย สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่น ควรเป็นเสื้อแขนสั้นหรือกางเกงที่สามารถดึงขึ้นเหนือเข่าได้สะดวก ขณะฝังเข็มอยู่ในลักษณะผ่อนคลาย หากรู้สึกผิดปกติ เช่น หน้ามืดเป็นลม ต้องแจ้งแพทย์ทราบทันที ควรรับการฝังเข็ม สัปดาห์ละ 1 ครั้งและต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ครั้ง แล้วแต่การพิจารณาของแพทย์

สิ่งที่ควรระวัง คือ ผู้ป่วยที่เป็นโรคที่เลือดมีความผิดปกติโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด และที่ยังไม่ทราบการวินิจฉัยแน่นอน ห้ามทำการฝังเข็มโดยเด็ดขาด

การฝังเข็มเป็นการแพทย์ทางเลือก ผู้จะทำการฝังเข็มควรศึกษาข้อมูลและรายละเอียดการฝังเข็มอย่างรอบคอบ ข้อแนะนา คือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุดค่ะ