เส้นเลือดขอด

เลเซอร์และความงาม » รูปร่าง

อาการเส้นเลือดขอด มีลักษณะเส้นเลือดปูดเขียวคล้ำ คดเคี้ยวไปมาเหมือนงู  หรือเห็นแตกเป็นฝอยแบบใยแมงมุมที่ขา อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะกับสาวๆ ที่ชอบใส่ส้นสูง ชอบนั่งไขว่ห้าง หรือคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ แม้ว่าเส้นเลือดขอดจะไม่มีอันตรายร้ายแรงใดๆ แต่ก็ทำให้ช่วงขาแลดูไม่สวยงาม บั่นทอนความมั่นใจของสาวๆ ลงไปได้มากเพราะรู้สึกอายไม่กล้าโชว์เรียวขาให้เห็นเส้นเลือดขอด และบางรายอาการหนักมากจนถึงกับมีแผลบริเวณผิวหนังที่เกิดจากเส้นเลือดแตก เนื่องจากผิวหนังบริเวณนั้นเป็นเส้นเลือดขอดจึงทำให้บางลงเกิดแผลได้

หากเส้นเลือดขอด กลายเป็นปัญหารบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ก็สามารถเข้ามารับคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ ยศการ คลินิก เพื่อรับคำแนะนำ และประเมินการบำบัดรักษาเส้นเลือดขอดด้วยวิธีต่างๆ อย่างถูกต้องให้หายขาดได้

ปัญหาเส้นเลือดขอด เกิดจากอะไร

ในภาวะปกติ หลอดเลือดดำของคนเราจะทำหน้าที่นำเลือดดำจากส่วนปลายกลับสู่หัวใจ โดยอาศัยแรงบีบของกล้ามเนื้อบีบเลือดต้านแรงโน้มถ่วงของโลกให้ไหลกลับขึ้นสู่หัวใจ และจะมีลิ้น (Valve) เล็กๆ อยู่ภายในหลอดเลือดดำช่วยเปิดให้เลือดไหลขึ้นไปที่หัวใจ และปิดกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับลงไปได้อีก ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดขอดขึ้นมา

แต่หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับลิ้นเล็กๆ ในหลอดเลือดดำ ทำให้ไม่สามารถสกัดกั้นการไหลย้อนของเลือดได้ ก็จะเกิดการคั่งของเลือดในหลอดเลือดส่วนปลายที่อยู่ใกล้ผิวหนัง เกิดเป็นเส้นเลือดขอด ที่มีลักษณะโป่งพองเป็นก้อนขดไปมา หรือเป็นเส้นเลือดฝอยแตกคล้ายแผนที่หรือใยแมงมุมนั่นเอง  

เส้นเลือดขอดที่ขา มี 2 ประเภท คือ

  • เส้นเลือดโป่ง (Varicose Veins) เกิดจากผนังเส้นเลือดบาง ทำให้เส้นเลือดพองและขดเป็นหยักอาจมีสีเขียวผสมม่วง
  • เส้นเลือดฝอย ลักษณะเป็นแพแบบเส้นใยแมงมุม (Spider Veins) อยู่ตื้นมีขนาดเล็กสีม่วง หรือแดงมองเห็นคล้ายใยแมงมุม

สาเหตุที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด

  • อายุ ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะยิ่งมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูงขึ้น เนื่องจากการเสื่อมสภาพของลิ้นในเส้นเลือดและเซลล์ผนังเส้นเลือด ซึ่งจะพบโรคเส้นเลือดขอด นี้มากกว่า 70% ของคนที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป
  • เพศ ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นเส้นเลือดขอดนี้ได้มากกว่าผู้ชายประมาณ 3 เท่า เนื่องจากการตั้งครรภ์ที่ส่งผลถึงการเพิ่มความดันในช่องท้อง และจากการมีภาวะหมดประจำเดือนตามธรรมชาติ ซึ่งฮอร์โมนเพศจะมีส่วนช่วยในการคงความยืดหยุ่นของผนังเส้นเลือด
  • พันธุกรรมและเชื้อชาติ เพราะพบโรคนี้ได้สูงขึ้นประมาณ 2 เท่าในคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นเส้นเลือดขอดนี้ และพบได้สูงในคนตะวันตกสูงกว่าคนเอเชีย ทั้งนี้ อาจมีความสัมพันธ์กับอาหารที่รับประทาน (เส้นเลือดขอดพบได้ประมาณ 12% ของคนตะวันตก ส่วนที่พบในคนเอเชียจะต่ำกว่า)
  • อาชีพ อาชีพที่ต้องยืนหรือนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ หรือต้องยกของหนัก ๆ ทำให้เส้นเลือดมีเลือดคั่งมาก เช่น ทหาร ศัลยแพทย์ พยาบาลในห้องผ่าตัด ครู เป็นต้น
  • ความอ้วน คนที่มีน้ำหนักมากเกินทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก จะเกิดการคั่งของเลือดบริเวณขามากขึ้น ทำให้เกิดเส้นเลือดขอดได้
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ในวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์ หญิงวัยทอง หรือแม้กระทั่งการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดก็อาจส่งผลทำให้เกิดเส้นเลือดขอดมากขึ้นได้
  • หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากการมีปริมาณของเลือดที่เพิ่มขึ้นทำให้เส้นเลือดขยายตัว น้ำหนักของครรภ์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่ส่งผลให้เกิดการเพิ่มความดันในช่องท้องและไปกดเส้นเลือด และจากการที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progestertone) เพื่อช่วยในการตั้งครรภ์ ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้ผนังเส้นเลือดดำเสียความยืดหยุ่นไป แต่อาการจะดีขึ้นหลังคลอดได้ประมาณ 3 เดือน (ยิ่งตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้งก็จะมีโอกาสเกิดเส้นเลือดขอดได้สูงมากขึ้น)
  • ท้องผูกเรื้อรัง เพราะต้องออกแรงเบ่งอุจจาระเป็นประจำจนส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของความดันในช่องท้องตลอดเวลา
  • ไม่ชอบออกกำลังกาย ขาดการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือใช้ชีวิตที่สะดวกสบายเกินไป เพราะจะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อขาเสื่อมประสิทธิภาพ ลดการเกิดเส้นเลือดขอด ซึ่งกล้ามเนื้อขาเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการช่วยพยุงเส้นเลือดดำและช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ขา
  • พฤติกรรม พฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เช่น สวมชุดที่คับเกินไปโดยเฉพาะบริเวณเอว ขาหนีบ เป็นต้น
  • การกระทบกระแทก หรือกดทับ เช่น ชอบนั่งไขว่ห้าง เนื่องจากเลือดเดินไม่สะดวก
  • ชอบใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งจะทำให้เลือดหมุนเวียนได้ไม่ดีทำให้เกิดเส้นเลือดคลอดบริเวณขาได้
  • แสงแดด การสัมผัสแสงเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจทำให้เกิดเส้นเลือดฝอยที่ใบหน้าได้ด้วย

สาเหตุอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดโดยเฉพาะบริเวณสะโพก ผู้ป่วยที่มีประวัติขาบวมหรือมีเส้นเลือดดำที่ขาอุดตันมาก่อนในอดีต ก็จะมีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดขอดได้มากกว่าคนทั่วไปด้วย

อาการเส้นเลือดขอด เป็นอย่างไร

ผู้ที่มีปัญหาเส้นเลือดขอดแรกเริ่มอาจสังเกตจากเส้นเลือดผ่านผิวหนัง โดยเห็นเป็นเส้นเลือดคดเคี้ยวและนูนออกมา หรือปรากฎเป็นสีม่วงเข้มหรือสีฟ้าบริเวณขา จากนั้นอาการเจ็บปวดหรืออาการอื่นๆ จึงตามมา ได้แก่

  • อาการเจ็บหรือรู้สึกหนักขา
  • กล้ามเนื้อในขาส่วนล่างเป็นตะคริวหรือสั่นเป็นจังหวะ
  • ขาส่วนล่างบวม แสบร้อน
  • รู้สึกเจ็บมากขึ้นเมื่อนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน
  • อาการคันรอบๆ เส้นเลือดเส้นใดเส้นหนึ่งหรือหลายเส้น
  • มีเลือดออกจากเส้นเลือดที่บิดนูน
  • อาการปวดในเส้นเลือดบริเวณที่ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดง
  • เส้นเลือดแข็งหรือเปลี่ยนสี มีอาการอักเสบของผิวหนังหรือมีแผลพุพองที่ผิวหนังใกล้ข้อเท้า ซึ่งเป็นอาการรุนแรงของเส้นเลือดขอดที่ควรต้องได้รับการรักษา
  • อาการของเส้นเลือดขอดมักแย่ลงในสภาพอากาศร้อนหรือเมื่อยืนเป็นเวลานาน และจะดีขึ้นเมื่อได้เดินหรือพักขาด้วยการยกขาขึ้น

บริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอด

ตำแหน่งที่พบเส้นเลือดขอดได้บ่อย คือ

  • บริเวณน่อง
  • ขาพับ
  • โคนขา
  • บริเวณระหว่างตาตุ่มขึ้นไปถึงสะโพก

ทั้งนี้ เส้นเลือดขอดส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ขา โดยเกิดได้ทั้งบริเวณน่องหรือด้านในของขา แต่บางครั้งเส้นเลือดขอดก็อาจเกิดขึ้นได้ในส่วนอื่นของร่างกายเช่นกัน เช่น บริเวณหลอดอาหาร มดลูก ช่องคลอด เชิงกราน และช่องทวารหนัก

เมื่อเกิดปัญหาเส้นเลือดขอด ควรทำอย่างไร

โดยปกติผู้ที่เป็นเส้นเลือดขอดอาจไม่จำเป็นต้องทำการรักษา หากไม่มีอาการที่ทำให้รู้สึกเจ็บหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการของเส้นเลือดขอดจะทุเลาลงเองได้ใน 3-12 เดือนหลังคลอดบุตร

ทั้งนี้ หากผู้เป็นเส้นเลือดขอดรู้สึกว่าอาการที่เกิดขึ้นบั่นทอนความมั่นใจ หรือบางคนปล่อยทิ้งไว้จนเป็นมากขึ้น ก็อาจเกิดอาการปวดขาเวลายืนนาน หรือขาเป็นตะคริว จนถึงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ขาบวม ผิวหนังอักเสบ และมีแผลเกิดขึ้น ดังนั้น ควรต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาเส้นเลือดขอดที่ถูกต้องต่อไป

ยศการ คลินิก แก้ปัญหาเส้นเลือดขอด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัย

ยศการ คลินิก รักษาเส้นเลือดขอดโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเครื่องมือการรักษาที่สะอาด และทันสมัย ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 30 ปี คุณจึงมั่นใจได้ว่าปัญหาเส้นเลือดขอดของคุณ จะได้รับการรักษาด้วยวิธีการที่ปลอดภัยโดยแพทย์จะพิจารณาจากอาการ และลักษณะของเส้นเลือดที่ขอดของแต่ละบุคคล เพื่อประเมินถึงแนวทางการรักษา ดังนี้

รักษาเส้นเลือดขอดด้วย Dual Yellow Laser

Dual Yellow Laser รักษาเส้นเลือดขอด คือ นวัตกรรมเลเซอร์คู่ 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นเลเซอร์สีเหลืองความยาวคลื่น 578 nm. ซึ่งจะมีผลต่อเส้นเลือดฝอยเล็กๆ ทำให้รอยแดงจางลง โดยไม่ทำให้ผิวด้านบนเสียหายจึงไม่เกิดจ้ำเลือดหลังการรักษา ชนิดที่ 2 เป็นเลเซอร์สีเขียวความยาวคลื่น 511 nm. ซึ่งจะมีผลต่อเม็ดสีของผิวหนังด้านบน แต่ไม่ทำให้ผิวด้านล่างเสียหาย ทำให้ผิวขาว ใส รอยแดง เส้นเลือดฝอยจางลง มักเห็นผิวขาวใสตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ

Dual Yellow Laser ปลอดภัยแค่ไหน

เลเซอร์นี้เป็นเลเซอร์ที่มีความจำเพาะเจาะจงสูง แสงเลเซอร์จะทำลายเฉพาะเป้าหมายที่เจาะจง ไม่มีผลต่อผิวหนังปกติด้านข้าง จึงไม่ค่อยพบผลข้างเคียง มีความปลอดภัย ไม่รุนแรงจึงไม่จำเป็นต้องทายาชาระหว่างการรักษาเส้นเลือดขอด จะรู้สึกเหมือนเข็มแตะที่ผิวเบาๆ สำหรับการรักษาริ้วรอย รอยสิว รอยแตกลาย ต้องทำการรักษาเส้นเลือดขอดอย่างต่อเนื่อง และผิวจะค่อยๆ ดีขึ้น

รักษาเส้นเลือดขอดด้วย Long Pulse ND YAG laser

เป็นการรักษาเส้นเลือดขอด ด้วยเครื่องเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 1064 นาโนเมตร และ 1320 นาโนเมตร ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดยแสงเลเซอร์จะมีความยาวคลื่นจำเพาะที่สามารถยิงผ่านผิวหนังชั้นบนลงไปในบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดแดงได้รับความร้อนจากเลเซอร์จะไปทำลายผนังเส้นเลือดขอดให้ย่อยสลายและหายไป

ส่วนผู้ที่เป็นเส้นเลือดฝอยที่บริเวณใบหน้าและขาก็สามารถใช้เลเซอร์รักษาได้ด้วยเช่นกัน แต่เส้นเลือดฝอยควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2 มิลลิเมตร เพราะหากมีขนาดใหญ่กว่าการรักษาด้วยเลเซอร์จะไม่ได้ผลหรือกลับมาเป็นซ้ำได้ในเวลาอันรวดเร็ว

เลเซอร์เป็นลำแสงที่ถูกนำมาใช้หลายกรณี  สำหรับด้านความสวยความงาม เป็นการฟื้นฟูผิวใหม่ให้เรียบเนียนสดใสขึ้น  หลังยิงเลเซอร์ชนิดนี้จะทำให้ผิวเรียบเนียน รูขุมขนเล็กลง ผิวหน้าละเอียดขึ้น  โดยไม่เกิดแผลตกสะเก็ด

ข้อดีของการรักษาด้วย Long Pulse ND YAG laser

  • เป็นการรักษาที่ไม่ทำให้เกิดบาดแผลและไม่มีแผลเป็น
  • สามารถรักษาเส้นเลือดขอดได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว เหมาะสำหรับเส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็กกว่า 3 มิลลิเมตร และผู้ป่วยที่กลัวการฉีดยาหรือการผ่าตัด
  • การฉีดสารเข้าหลอดเลือดที่ขอด โดยเลือกใช้กับเส้นเลือดขอดขนาดเล็กถึงปานกลางเพื่อให้เกิดแผลเป็นและปิดเส้นเลือดเหล่านี้ เส้นเลือดแต่ละเส้นอาจได้รับการฉีดสารชนิดนี้มากกว่า 1 ครั้ง วิธีการรักษาเส้นเลือดขอดนี้จะช่วยให้เส้นเลือดขอดทุเลาลงภายในไม่กี่สัปดาห์ ซึ่งเป็นการรักษาที่ได้ผลหากทำอย่างถูกวิธี           
  • การผ่าตัดเอาเส้นเลือดขอดออก  โดยจะเป็นการผ่าตัดดึงเอาเส้นเลือดที่ขอดออกไปตลอดทั้งเส้นเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก วิธีนี้จะเหมาะสำหรับการรักษาเส้นเลือดขอดที่มีขนาดใหญ่และมีขนาดยาวมากๆ และไม่สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำที่ขอดได้
  • การผ่าตัดเล็ก สำหรับเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ ที่ไม่สามารถใช้วิธีอื่นรักษาได้ โดยการเน้นผ่าเฉพาะจุดที่เส้นเลือดโป่งพอง( Mini vein surgery) ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีมาก ไม่ต้องดมยาสลบ และเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน วิธีการรักษาเส้นเลือดขอดนี้ ไม่ต้องเอาออกทั้งเส้น และสามารถใช้ร่วมกับวิธีฉีดได้ด้ว

วิธีปฏิบัติตัวหลังจากการรักษาเส้นเลือดขอด

  1. ควรงดการยกของหนัก หรือยืนนานๆ เป็นเวลา 3-7 วัน
  2. ควรใส่ผ้ายืด หรือซัพพอร์ทในบริเวณที่ทำการรักษา เพื่อประคองกล้ามเนื้อและเส้นเลือดบริเวณนั้น ส่วนระยะเวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นเลือด โดยเส้นเลือดเล็กฝอยให้ใส่ไว้ 1-3 วัน ส่วนเส้นเลือดขอดขนาดกลาง (ขนาดเท่าไส้ปากกา) ควรใส่อย่างน้อย 7 วัน ขึ้นไป
  3. ควรออกกำลังกายด้วยการเดินทุกวัน เพื่อกระตุ้นให้ยากระจายตัวอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผลที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
  4. ควรพบแพทย์ตามนัด เพื่อแพทย์จะได้ติดตามผลการรักษา

วิธีป้องกันเส้นเลือดขอด

การเกิดเส้นเลือดขอดไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด แต่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดขอดด้วยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและลดการตึงของกล้ามเนื้อที่มีปฏิบัติดังนี้

  • ออกกำลังกาย ช่วยลดเส้นเลือดขอด พยายามเคลื่อนไหวหรือเดินให้มาก เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในขา
  • ควบคุมน้ำหนักด้วยการไม่รับประทานอาหารเกินพอดี การมีน้ำหนักตัวมากจะยิ่งส่งผลให้เกิดแรงกดที่หลอดเลือดทำให้เกิดเส้นเลือดขอด
  • ควรรับประทานอาหารที่มีเกลือแต่น้อยเพื่อป้องกันอาการบวมจากการคั่งของน้ำ
  • หลีกเลี่ยงรองเท้าส้นสูง การใส่รองเท้าส้นเตี้ยเป็นผลดีต่อหลอดเลือดมากกว่า และไม่ควรใส่เสื้อผ้าที่รัดรอบเอว ขา ต้นขา เนื่องจากจะไปลดการไหลเวียนของเลือด ทำให้เกิดเส้นเลือดขอดได้
  • ยกขาให้สูงขึ้นเพื่อให้เลือดในขาไหลเวียนได้ดีขึ้น โดยควรพักด้วยการยกขาขึ้นเหนือระดับหัวใจบ่อยๆ
  • เลี่ยงการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน และเปลี่ยนท่าบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้นและไม่นั่งไขว้ขาเป็นเวลานานๆ